
อาเขด (หง่อก่ากี่, หง่อข่าขี่, หง่อคาขี่)
อาเขด (หง่อก่ากี่, หง่อข่าขี่, หง่อคาขี่)
พระยารัษฏานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) ท่านเจ้าคุณเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต (พ.ศ. 2445 2456) ได้เห็นความยากลำบากที่ไม่สะดวกของผู้คนในมณฑลภูเก็ตเมื่อเดินหาซื้อสินค้าในตัวเมืองที่มีตึกแถว ยิ่งในภูเก็ตซึ่งมีฝนตกชุก จะตกเมื่อไรก็ไม่มีสัญญาณเตือน จนเป็นที่รู้กันว่า ฝนพังงา ฟ้าภูเก็ต คือฝนฟ้าในภูเก็จและพังงาเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วมาก แล้วเรื่องอะไรจะให้ประชาชนเดินกรำแดดหรือกรำฝนโดยไม่จำเป็น ด้วยเหตุนี้ท่านเจ้าคุณรัษฏานุประดิษฐ์ฯ จึงให้ผู้สร้างตึกแถวจัดทำ อาเขด ( ARCADE ) ไว้หน้าบ้านเป็นแนวเดียวกัน เพื่อประชาชนจะได้ใช้เป็นทางสาธารณะสัญจรไปมาได้โดยสะดวก ไม่ต้องกรำฝนให้เปียกปอน ไม่ต้องร้อนเพราะกรำแดด
ลักษณะอาเขดหรือชาวภูเก็ตเรียก หง่อก่ากี่, หง่อข่าขี่, หง่อคาขี่ เป็นส่วนหนึ่งทางด้านหน้าของตึกแถวมีเพดานเป็นพื้นชั้นที่ 2 ของตึกแถว มีความยาวจากแนวประตูตึกแถวออกไปจดถนนเท่ากับ หง่อ คือ 5 ตามมาตรวัด กากี (หมายถึงจำด้วยเท้า ก่า, คา หรือ ข่า คือ ขา หรือ เท้า กี่, ขี่, กี คือ จำ เทียบได้เท่ากับ FOOT ระยะมี่ใช้ในภูเก็จยาวประมาณ 30 50 ซ.ม. หง่อก่ากี่ ยาวประมาณ 2.50 เมตร
ที่ตั้งและการเดินทาง
ตึกแถวที่มี อาเขด ดูได้ที่ตึกแถวในเขตเทศบาลเมืองภูเก็จ เช่นที่ถนนดีบุก ถนนกระบี่ ถนนเยาวราช แถวน้ำ บางเหนียว แต่ที่มีอาเขตติดต่อกันมากคูหาที่สุดอยู่ที่ถนนถลาง เพียงที่นี่เพียงแห่งเดียวก็กล่าวได้ว่า ภูเก็จ เป็นจังหวัดที่มีอาเขดมากคูหาที่สุด
ดู อาเขด ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า